การบูรณาการภายในสะเต็มศึกษา
สะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบูรณาการเพื่อช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 สาขากับชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ระดับการบูรณาการที่อาจเกิดขึ้นในชั้นเรียนสะเต็มศึกษาสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ ได้แก่
1. การบูรณาการภายในวิชา (Disciplinary)
นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะของแต่ละวิชาของสะเต็มแยกกัน
2. การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary)
นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะของแต่ละวิชาของสะเต็มแยกกันตามหัวข้อหลัก (Theme) ที่ครูทุกวิชากำหนดร่วมกัน และมีการอ้างอิงถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิชานั้นๆ
3. การบูราณาการแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)
นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะจาก 2 วิชาขึ้นไปร่วมกันโดยกิจกรรม มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของทุกวิชาเพื่อให้นักเรียนได้เห็นความสอดคล้องกัน
4. การบูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา (Transdisciplinary)
นอกจากการเรียนรู้ เนื้อหา และฝึกทักษะของทั้ง 4 วิชาแล้ว นักเรียนได้ประยุกต์ความรู้ทักษะเหล่านั้นในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวเอง